• mokda1.jpg
673447
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ก่อน
เดือนนี้
เดือนก่อน
ทั้งหมด
958
560
2585
664498
15468
18369
673447

Your IP: 18.220.106.241
2024-04-24 16:29
  • 1.jpg
  • 171.jpg
  • 172.jpg
  • 173.jpg
  • 174.jpg
  • 175.jpg
  • 1729-1.jpg
  • 21320.jpg
  • 21321.jpg
  • 21327.jpg
  • 21327_0.jpg
  • 21629.jpg
  • 21629_0.jpg
  • 21632.jpg
  • 21632_0.jpg
  • 21634.jpg
  • 21634_0.jpg
  • 21639.jpg
  • 21639_0.jpg
  • 21900.jpg
  • 21900_0.jpg
  • 22445.jpg
  • 22642.jpg
  • 22646.jpg
  • 22646_0.jpg
  • 22713.jpg
  • 23634_2.jpg
  • 23952.jpg
  • 24007.jpg
  • 24007_0.jpg
  • 24021.jpg
  • 24021_0.jpg
  • 24335.jpg
  • 24553.jpg
  • 24624.jpg
  • 25336.jpg
  • 26648.jpg
  • 26847.jpg
  • 40367.jpg
  • 40368.jpg
  • 218929-1.jpg
  • 213562978_905099966706493_5173102688359634686_n.jpg
  • 217773381_497400544683647_5212559284919141361_n.jpg
  • covid-4.jpg
  • donate4.jpg
  • donate5.jpg
  • donate6.jpg
  • donate7.jpg
  • donate8.jpg
  • donate_1.jpg
  • donate_2.jpg
  • donate_3.jpg
  • donate_9.jpg
  • donate_10.jpg
  • donate_10_1.jpg
  • donate_11.jpg
  • donate_12.jpg
  • donate_13.jpg
  • donate_14.jpg
  • donate_15.jpg
  • donate_16.jpg
  • donate_17.jpg
  • donate_18.jpg
  • donate_19.jpg
  • donate_20.jpg
  • donate_21.jpg
  • donate_22.jpg
  • donate_23.jpg
  • donate_24.jpg
  • donate_25.jpg
  • donate_26.jpg
  • donate_27.jpg
  • donate_28.jpg
  • donate_29.jpg
  • donate_30.jpg
  • donate_31.jpg
  • donate_32.jpg
  • donate_33.jpg
  • donate_34.jpg
  • donate_34_สพย.jpg
  • donate_35.jpg
  • donate_36.jpg
  • donate_37.jpg
  • donate_39.jpg
  • Donate_40.jpg
  • donate_41.jpg
  • donate_42.jpg
  • donate_46.jpg
  • donate_47.jpg
  • donate_48.jpg
  • donate_49.jpg
  • donate_50.jpg
  • donate_51.jpg
  • donate_52.jpg
  • donate_53.jpg
  • donate_54.jpg
  • donate_55.jpg
  • donate_56.jpg
  • donate_57.jpg
  • donate_58.jpg
  • donate_59.jpg
  • donate_60-1.jpg
  • donate_60.jpg
  • donate_61.jpg
  • donate_62.jpg
  • donate_63.jpg
  • donate_64.jpg
  • donate_65.jpg
  • donate_67.jpg
  • donate_68.jpg
  • donate_69.jpg
  • donate_70.jpg
  • donate_72.jpg
  • donate_76-1.jpg
  • donate_76.jpg
  • lamduan-hospital-1.png
  • lamduan-hospital-2.png
  • lamduan-hospital-3.png
  • lamduan-hospital1.jpg
  • mom1.jpg
  • s1.jpg
  • s2.jpg
  • Slide1.JPG
  • S__23339018.jpg
  • S__185917451.jpg
  • TPC_9d98f3b1ad674f14b988b5d6658e466511626151887170887288tffffffff.jpg
  1. รายการล่าสุด
  2. ข่าวประชาสัมพันธ์
  3. ประกาศโรงพยาบาลลำดวน
  4. ประกาศสมัครงาน
  5. ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

S 9330692 0

ลำดับ DAYTIME | วันทำการ คลินิค | การให้บริการ เวลาปฏิบัติงาน
 1  Monday | จันทร์ 08.00 - 16.00 
 2 Tuesday | อังคาร  08.00 - 16.00 
 3  Wednesday | พุธ 08.00 - 16.00 
 4  Thursday | พฤหัสบดี 08.00 - 16.00 
 5 Friday | ศุกร์  08.00 - 16.00 
 6  Saturday | เสาร์ 08.00 - 16.00 
 7 SUNDAY | อาทิตย์  08.00 - 16.00 

  โรงพยาบาลลำดวน ขอขอบพระคุณ บริษัท สยามซีนิท แฟบริค จำกัด ร่วมบริจาคห...

Read more

  โรงพยาบาลลำดวน ขอขอบคุณ บริษัทแคริบเบียน อินเตอร์แนชั่นแนล ที่ได้ร่...

Read more

  โรงพยาบาลลำดวนขอขอบพระคุณ บิรษัท ทรีดนเว็มเบอร์ ที่ได้บริจาคชุด PPE จ...

Read more

    โรงพยาบาลลำดวนขอขอบพระคุณ บริษัท รัตนา แอ็พแพเร็ลแคร์ บริจาคแมสผ...

Read more

ลักษณะโรค

  • เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน

สาเหตุ

  • เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด
  • เชื้อไวรัสชนิด A แบ่งเป็นชนิดย่อย (subtype) ตามความแตกต่างของโปรตีนของไวรัสที่เรียกว่า hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) ชนิดย่อยของไวรัส A ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) ส่วนไวรัสชนิด B ไม่มีแบ่งเป็นชนิดย่อย
  • เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มียีโนมเป็น RNA แยกเป็น 7-8 ชิ้น ทำให้ยีโนมมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ค่อนข้างบ่อย เรียกว่า genetic variation การเปลี่ยนแปลงยีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนส์เปลี่ยนแปลงไปด้วย คือมี antigenic variation ซึ่งมี 2 แบบคือ
    • Antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกิด RNA point mutation ทำให้ amino acid เพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไป antigenic drift ทำให้เกิดการระบาดในวงไม่กว้างนัก
    • Antigenic shift เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortant คือการที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A 2 สายพันธุ์เกิดการติดเชื้อในเซลล์หนึ่งเซลล์ มีการนำยีโนมจากไวรัสสายพันธุ์หนึ่งไปใส่ในอนุภาคของไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งในเซลล์เดียวกัน ทำให้เกิดอนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งแอนติเจนเปลี่ยนไปจนทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไปจนเกิดชนิดย่อย (subtype) ใหม่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ (pandemic) มาแล้วในอดีต
  • ปัจจุบันสามารถพบ hemagglutinin (H) ที่แตกต่างกันถึง 15 ชนิด และ neuraminidase (N) 9 ชนิดของไวรัสชนิด A แต่มีเพียง H1N1 และ H3N2 ที่พบติดเชื้อในคนบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่เกิดได้บ่อยทำให้มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นต่างสถานที่และต่างระยะเวลา ดังนั้นจึงต้องมีระบบการเรียกชื่อเพื่อป้องกันความสับสน คณะผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดให้เรียกชื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามหลักสากลทั่วโลกดังนี้ ชนิดไวรัส/ชื่อเมืองหรือประเทศที่พบเชื้อ/ลำดับสายพันธุ์ที่พบในปีนั้น/ปี ค.ศ.ที่แยกเชื้อได้/ชนิดย่อยของ H และ N เช่น A/Sydney/5/97(H3N2), A/Victoria/3/75/(H3N2)
  • การศึกษาด้านนิเวศวิทยาบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกำเนิดมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสัตว์ตระกูลนก (avian influenza virus) สัตว์นกน้ำ (aquatic bird) เป็นแหล่งรังโรค (reservoir) เชื้อไวรัสสามารถแบ่งตัวได้ในลำไส้ของสัตว์ประเภทเป็ดป่า (wild duck) โดยไม่ทำให้สัตว์เกิดอาการ สัตว์เหล่านี้ขับถ่ายเชื้อไวรัสจำนวนมากออกมาพร้อมอุจจาระ ในแต่ละปีจะมีลูกนกเป็ดน้ำจำนวนมากเกิดขึ้นทั่วโลกลูกนกเหล่านี้ได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำ เมื่อลูกนกเป็ดน้ำโตขึ้นก็จะย้ายถิ่นและแพร่กระ จายเชื้อไวรัสไปอย่างกว้างขวาง
  • การระบาดของ avian influenza บนเกาะฮ่องกงในปี พ.ศ.2540 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 บ่งชี้ว่าเชื้อแพร่กระจายจากนกที่อยู่ตามชายฝั่ง (shorebird) ไปสู่เป็ดโดยการปนเปื้อนของอุจจาระ จากนั้นแพร่ไปสู่ไก่และปักหลักอยู่ในตลาดขังสัตว์ปีกมีชีวิต (live bird market) นกที่อยู่ตามชายฝั่งและเป็ดไม่เป็นโรคเพราะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโดยธรรมชาติ ส่วนไก่เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงและตายมาก คนติดเชื้อมาจากไก่ทางอุจจาระที่ปนเปื้อน (fecal oral) เชื้อไวรัสที่ผ่านสัตว์มาหลายเผ่าพันธุ์จะมีฤทธิ์ก่อโรคได้สูงในไก่และคน การผสมกัน (reassortment) ระหว่างไวรัสต่างเผ่าพันธุ์ (species) เกิดขึ้นได้ง่ายอาจทำให้เพิ่มชนิดย่อยใหม่ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในคนได้ มีการศึกษาว่าการใช้อุจจาระเป็ดไปเลี้ยงปลาจะนำไปสู่การแพร่เชื้อไวรัส avian influenza ไปสู่หมู เชื้ออาจแพร่ไปในอาหารและซากนกที่นำไปเลี้ยงหมู

วิธีการติดต่อ

  • เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก

ระยะฟักตัว

  • ประมาณ 1-3 วัน

ระยะติดต่อ

  • ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการและจะแพร่เชื้อต่อไปอีก 3-5 วันหลังมีอาการในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กอาจแพร่เชื้อได้นานกว่า 7 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน

การวินิจฉัยแยกโรค

  • การวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้ออื่นโดยอาศัยลักษณะทางคลินิกอย่างเดียวทำได้ยาก เชื้ออื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae, adenovirus, respiratory syncytial virus (RSV), rhinovirus, parainfluenza virus, และ Legionella spp.

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

  • ตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเสมหะที่ป้ายหรือดูดจากจมูกหรือลำคอ หรือ
  • ตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ใน epithelial cell จาก nasopharyngeal secretion โดยวิธี fluorescent antibody หรือ
  • ตรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในซีรั่มอย่างน้อย 4 เท่าในระยะเฉียบพลันและระยะพักฟื้น โดยวิธี haemaglutination inhibition (HI) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน หรือ complement fixation (CF) หรือ Enzyme - linked immunosorbent assay (ELISA)